วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แบบฝึกหัดบทที่ 4

1.มนุษย์สัมพันธ์มีความหมายว่าอย่างไรมีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร จงอธิบาย
มนุษย์สัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์การใดองค์การหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง เพื่อดำเนินการให้องค์นั้นหรือสังคมนั้นบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ มนุษย์สัมพันธ์อันดีและมนุษย์สัมพันธ์ไม่ดี ถ้ามีมนุษย์สัมพันธ์อันดี บุคคลในองค์การหรือสังคมดังกล่าวก็จะมีความรู้สึกพึงพอใจต่อกันและกันมีความเข้าใจอันดีต่อกัน ร่วมมือกันประสานงาน ช่วยเหลือ แบ่งปันและให้อภัยต่อกัน แต่ถ้ามนุษย์สัมพันธ์ไม่ดี บุคคลในองค์การนั้นหรือสังคมนั้นก็มักจะไม่ชอบพอกัน ขัดแย้งกัน ไม่ร่วมมือกัน ไม่ช่วยเหลือ ต่างคนต่างอยู่หรือกลั่นแกล้งกัน ส่งผลให้งานส่วนรวมขององค์การหรือกกลุ่มสังคมนั้นๆ เสียหาย บุคคลในกลุ่มขาดความสุข ซึ่งในที่สุดก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้นๆ ไม่มากก็น้อย

2.ลักษณะของกลุ่มทำงานที่มีความสัมพันธ์อันดีมีลักษณะที่ดีอะไรบ้าง จงอธิบาย
1) มีการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย
-บุคคลส่วนใหญ่มักต้องการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกซึ่งการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตยจะสนองความต้องการนี้ได้
2) มีความไว้วางใจและเอในความสามารถซึ่งกันและกัน
-บุคคลทั่วไปมักต้องการความเชื่อถือไว้วางใจจากผู้อื่น ดังนั้นในการทำงานร่วมกันทุกคนควรต้องให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
3) มีการติดต่อสื่อสารที่ดีในหน่วยงาน
- มนุษย์ทุกคนมักต้องการความชัดเจนในงานและต้องการความสบายใจในการอยู่ร่วมกันด้วย
4) มีการช่วยเหลือกันในขอบเขตที่เหมาะสม
- ในการทำงานและอยู่ร่วมกันในกลุ่ม ถ้าทุกคนพร้อมต่อการเป็นผู้ให้ยอมทำให้เกิดความสุขในกลุ่มได้ การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน จัดว่าเป็นการให้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร
5) มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
- การทำงานร่วมกันโดยหลายคนนั้น ถ้ามีทีมงานที่เหมาะสม คือ มีระบบงานที่ดี มีสายวานบังคับบัญชาที่ชัดเจน ทุกคนรู้บทบาทหน้าที่ และมีขอบข่ายงานที่กำหนดเด่นชัด
6) มีการร่วมมือที่ดี
- การร่วมมือ เป็นพฤติกรรมของกลุ่มที่มีลักษณะไปในทางเดียวกันของสมาชิกกลุ่ม คือแต่ละบุคคลจะได้รับความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายก็ต่อเมื่อกลุ่มได้รับความสำเร็จด้วย
7) ผู้มาร่วมกลุ่มทำงานมีลักษณะทีเอื้อต่อการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
- ในการทำงานร่วมกัน ถ้าผู้มาร่วมกลุ่มทำงานมีลักษณะบางประการ ที่เอื้อต่อการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี คือมีลักษณะ ส่วนตัวที่พร้อมอยู่แล้วก็ย่อมส่งผลให้การทำงานกลุ่มเป็นไปด้วยไมตรีอันดี
3.แนวทางในการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน ควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
1) การสร้างอัตตมโนทัศน์ ที่ตรงตามความเป็นจริง
2) การมองตนเองและผู้อื่นในทางที่ดี
3) การปฏิบัติต่อผู้อื่นในทางที่ดี
3.1) ให้ความสนใจเพื่อนร่วมงาน
3.2) ยิ้มแย้ม
3.3) แสดงการจำได้ เช่น จำชื่อ
3.4) เป็นคู่สนทนาที่ดี
3.5) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3.6) แสดงการยอมรับนับถือผู้อื่นตามสถานภาพ
3.7) แสดงความมีน้ำใจ ซึ่งการมีน้ำใจต่อผู้อื่นแสดงได้หลายแนวทาง เช่น การเป็นผู้ให้ ให้ความรัก ให้ความห่วงใย แบ่งปัน ช่วยเหลือ
3.8) แสดงความชื่นชมยินดี เนื่องในโอกาสต่างๆ
4) การพัฒนาการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
- ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น การให้ความสนใจเพื่อนร่วมงาน การแสดงการจำได้ การเป็นคู่สนทนาที่ดี
4.1) สนใจ เอาใจใส่ให้ความสำคัญกับผู้ที่ติดต่อสื่อสารด้วย
4.2) หลีกเลี่ยงการพูดพิงถึง”คน” เมื่อสนทนาเรื่องภายนอกตัว
4.3) ตั้งคำถามไม่เจาะจง - การตั้งคำถามเพื่อให้คู่สนทนาตอบโดยประเด็นคำถามพุ่งไปสู่คู่สนทนารู้สึก ว่าเขากำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากอีกฝ่ายหนึ่ง
4.4) ใช้คำถามเชิงอธิบายแทนการสั่งสอนหรือแนะนำ
4.5) ใช้ประโยคที่เริ่มต้นด้วยสรรพนามบุรุษที่สองเมื่อพูดถึงสิ่งที่ดี
4.6) ใช้คำว่า”เรา” เมื่อต้องการให้เกิดความรู้สึกเป็นกลุ่มเป็นพวก
4.7) ใช้ประโยคที่เริ่มต้นด้วยสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
4.8) ใช้สรรพนามบุรุษที่สอง-บุรุษที่หนึ่ง หรือ คุณ-ฉัน เมื่อต้องการแสดงความใกล้ชิด
4.9) ใช้คำว่า อย่างไร เมื่อต้องการข้อเท็จจริง
4.10) ใช้คำว่า ทำไม ให้เหมาะสมตามจุดประสงค์
4.11) ใช้วิธีสะท้อนความรู้สึกสะท้อนเนื้อหาคำพูดของคู่สนทนาเพื่อแสดงความเข้าใจ
4.12) ใช้คำพูดเปิดเผยตนเองเพื่อแสดงความจริงใจและพร้อมเป็นมิตร

4.การวางแผนตามสถานะและบทบาทในองค์การ “ แบ่งออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง จงอธิบาย”
3 ลำดับ
1) การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชา
- โดยผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด ต้องถือว่าเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานและเป็นผู้ต้องรับผิดชอบงานในที่ทำงานเหนือกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา
2) การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ในระดับเดียวกัน
- มักมีอิทธิพลต่อกันและกันในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีบทบาทสูงต่อมนุษย์สัมพันธ์ในองค์การ เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุด
3) การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา
- ผู้ใต้บังคับบัญชาคือฝ่ายปฏิบัติงานในหน่วยงาน เปรียบเสมือนมือและเท้าของผู้บริหาร

ไม่มีความคิดเห็น: